หัวข้อ   “ คนกรุงกับการดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ ”
 
คนกรุงเทพฯ 62.3% ไม่ออกกำลังกาย 47.6% กินข้าวไม่ครบ 3 มื้อ ไม่ครบ
5 หมู่ โดย 35.7% ระบุ เครียดปัญหาสินค้าราคาแพง ค่าครองชีพสูง
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้ง
ประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ
10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ รวมถึงสังคม และเนื่องในวันที่
28 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันสุขบัญญัติแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คนกรุงกับการดูแล
สุขภาพและการปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,144 คน พบว่า
 
                 คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 93.4 ไม่ทราบว่าวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นวัน
สุขบัญญัติแห่งชาติ มีเพียงร้อยละ 6.6 เท่านั้นที่ทราบ โดยสุขบัญญัติ 10 ประการ
ที่คนกรุงเทพฯ ทำได้อย่างสม่ำเสมอมากที่สุดอันดับแรกคือ ดูแลร่างกายและของใช้
ให้สะอาด (ร้อยละ 97.8) รองลงมาคือ แปรงฟันถูกวิธี อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
(ร้อยละ 94.9) และป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท (ร้อยละ 91.4) ขณะที่
สุขบัญญัติ 10 ประการที่คนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยได้ปฏิบัติมากที่สุดคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ร้อยละ 63.2)
รองลงมาคือ กินอาหารครบ 3 มื้อ และ กินครบทั้ง 5 หมู่ (ร้อยละ 47.6) และงดสูบบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน สำส่อน
ทางเพศ (ร้อยละ 35.7)มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวก็ไม่ได้แปลงมาสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
 
                 เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่ามีการพักผ่อนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง ร้อยละ 45.5 ระบุว่า “5 - 6 ชั่วโมง” ร้อยละ
38.8 ระบุว่า “7 - 8 ชั่วโมง” ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่า กลุ่มตัวอย่างได้ใช้เวลาว่างนอกเหนือจากการนอน การเรียนและการทำงาน
ทำอะไรมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 83.1 ระบุว่า ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ รองลงมาคือ ร้อยละ 40.6 ระบุว่าอ่านหนังสือทุกประเภท
และร้อยละ 38.6 ระบุว่า ช้อปปิ้ง ซื้อของ เดินเล่น
 
                 ส่วนปัญหาที่ทำให้เครียดมากที่สุดในช่วงเวลานี้อันดับแรกคือ ปัญหาสินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น
(ร้อยละ 35.7) รองลงมาคือ ปัญหาการจราจรติดขัด (ร้อยละ 11.2) และปัญหาการเป็นหนี้ (ร้อยละ 10.9) ขณะที่ ร้อยละ
15.6 ไม่มีปัญหาที่ทำให้เครียดเลย
 
                  สำหรับความคิดเห็นต่อการให้บริการ การรอคิว การรักษา และคุณภาพยา ของโครงการ 30 บาท รักษา
ทุกโรค ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร   พบว่า ร้อยละ 46.9 เห็นว่าค่อนข้างดีถึงดีมาก ขณะที่ร้อยละ 22.0 เห็นว่า ค่อนข้างแย่
ถึงแย่มาก  และ ร้อยละ 31.1 ไม่เคยใช้บริการ
 
                 รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ท่านทราบหรือไม่ว่าวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นวันสุขบัญญัติแห่งชาติ

 
ร้อยละ
ทราบ
6.6
ไม่ทราบ
93.4
 
 
             2. การปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ พบว่า

สุขบัญญัติ 10 ประการ
ทำสม่ำเสมอ
(ร้อยละ)
ไม่ค่อยได้ทำ
(ร้อยละ)
1. ดูแลร่างกายและของใช้ให้สะอาด อาบน้ำวันละ
    2 ครั้ง สระผมสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
97.8
2.2
2. แปรงฟันถูกวิธี อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
94.9
5.1
3. ป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท เช่น ไม่ลืม
    ปิดเตาแก๊ส สวิตช์ไฟฟ้า ในบ้าน
91.4
8.6
4. ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย
83.9
16.1
5. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
83.8
16.2
6. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น เช่น
    ทำกิจกรรมร่วมกัน มีปัญหาปรึกษากัน
74.7
25.3
7. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
64.4
35.6
8. งดสูบบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนัน สำส่อนทางเพศ
64.3
35.7
9. กินอาหารครบ 3 มื้อ และกินครบทั้ง 5 หมู่
52.4
47.6
10. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ
      3 ครั้ง ตรวจร่างกายประจำทุกปี
36.8
63.2
 
 
             3. การนอนพักผ่อนเฉลี่ยวันละ

 
ร้อยละ
น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
7.8
5 - 6 ชั่วโมง
45.5
7 - 8 ชั่วโมง
38.8
มากกว่า 8 ชั่วโมง
7.9
 
 
             4. การใช้เวลาว่างนอกเหนือจากการนอน การเรียน / การทำงาน พบว่า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุ
83.1
อ่านหนังสือทุกประเภท
40.6
ช้อปปิ้ง ซื้อของ เดินเล่น
38.6
เล่นคอมพิวเตอร์
37.2
ชมภาพยนตร์ หนังซีรีย์
30.5
ใช้โทรศัพท์มือถือ ทั้งเล่นเกมส์ เล่นอินเทอร์เน็ต แชท
30.4
ออกกำลังกาย
29.6
เที่ยวกลางคืน
6.0
 
 
             5. ปัญหาที่ทำให้เครียดที่สุด ในช่วงเวลานี้ (5 อันดับแรก) ได้แก่

 
ร้อยละ
ปัญหาสินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น
35.7
ปัญหาการจราจรติดขัด
11.2
ปัญหาการเป็นหนี้ เป็นสิน เช่น บ้าน รถ
10.9
ปัญหาการทำงาน
6.5
ปัญหาครอบครัว คนรัก
5.6
ไม่มีปัญหาที่ทำให้เครียด
15.6
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อการให้บริการ การรอคิว การรักษา และคุณภาพยา ของโครงการ 30 บาท
                 รักษาทุกโรค ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
ค่อนข้างดีถึงดีมาก
( โดยแบ่งเป็นค่อนข้างดี ร้อยละ 35.4 และดีมากร้อยละ 11.5 )
46.9
ค่อนข้างแย่ถึงแย่มาก
( โดยแบ่งเป็นค่อนข้างแย่ ร้อยละ 14.9 และแย่มาก ร้อยละ7.1 )
22.0
ไม่เคยใช้บริการ
31.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติ
ตามสุขบัญญัติ 10 ประการ การใช้เวลาว่าง ปัญหาที่เครียด และการให้บริการ การรอคิว การรักษา และคุณภาพยาของโครงการ
30 บาทรักษาทุกโรค  เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็น
แนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่
เขตคลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม
บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง
สวนหลวง สายไหม และหลักสี่ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น
1,144 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.8 และเพศหญิงร้อยละ 50.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  22 - 24 พฤษภาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 พฤษภาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
570
49.8
             หญิง
574
50.2
รวม
1,144
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
309
27.0
             26 – 35 ปี
292
25.5
             36 – 45 ปี
269
23.5
             46 ปีขึ้นไป
274
24.0
รวม
1,144
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
805
70.4
             ปริญญาตรี
300
26.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
39
3.4
รวม
1,144
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
112
9.8
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
260
22.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
366
32.0
             รับจ้างทั่วไป
158
13.8
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
98
8.6
             นักศึกษา
116
10.1
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
34
3.0
รวม
1,144
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776